การวิเคราะห์ต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา

เรื่อง : การวิเคราะห์ต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง :  กันยารัตน์ แสนสันเทียะ , อุษณา แจ้งคล้อย
เอกสาร : วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 3 ฉบับท่ี 1 (2559)
1.ความเป็นมา
ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อนํามาวิเคราะห์ต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาล เมื่อนํามาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลชุมชนในระดับเดียวกัน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการให้บริการที่แท้จริงและทำให้ผู้บริหาร สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมาระดับ F2 จําานวน 15 โรงพยาบาล
3. ขอบเขตของการศึกษา
ศึกษาต้นทุนต่อสิทธิการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมาโดยการประเมินจะประเมินต้นทุนทางบัญชี ไม่ได้คํานึงถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
4. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. วิธีต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity - Based Costing Method)
2. วิธีต้นทุนแบบดั้งเดิม (Traditional Method)
5. วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
1. การเตรียมข้อมูลสําาหรับการวิเคราะห์ต้นทุน
2. การวิเคราะห์องค์กรและจัดหน่วยต้นทุน
3. การคําานวณต้นทุนทางตรง (Direct Cost)
4. การคําานวณต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost)
5. การคําานวณต้นทุนรวม (Full Cost)
6. การจัดกลุ่มศูนย์ต้นทุนหลักไปสู่ศูนย์ต้นทุนกิจกรรม
7. การเช่ือมโยงต้นทุนกิจกรรมไปสู่ผลผลิต
8. การคําานวณต้นทุนบริการรายกิจกรรม
9. การคําานวณต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคล
10. การคําานวณต้นทุนรายสิทธิหลักประกันสุขภาพ
6. ผลการวิจัย  
ผลการวิจัยพบว่าโรงพยาบาลชุมชนระดับ F2 มีต้นทุนต่อสิทธิการรักษาพยาบาล แตกต่างกันโดยสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการมีต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 561.89 บาทต่อครั้ง ต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ย 2,836.83 บาทต่อวันนอน สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมมีต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 392.24 บาทต่อครั้งต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ย 2,620.55 บาทต่อวันนอน และ สิทธิรักษาพยาบาลประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 543.97 บาทต่อครั้ง ต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ย 2,428.55 บาทต่อวันนอน
7. ข้อจำกัดของงานวิจัย/ข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งเน้นการวิเคราะห์ต้นทุนสิทธิรักษาพยาบาลเพียง 3 สิทธิ คือ สิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2 เท่านั้น ดังนั้น การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาการวิเคราะห์ ต้นทุนสิทธิรักษาพยาบาลในระดับโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและศึกษาการวิเคราะห์ ต้นทุนเฉพาะโรค

Credit: http://e-journal.sru.ac.th/index.php/msj/article/view/442 (วันที่เข้าถึง 5/11/2017)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีต้นทุนและต้นทุนการผลิต

ทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity Based Costing)

การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตขาเทียมโดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม