ต้นทุนการผลิตบัณฑิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เรื่อง :  ต้นทุนการผลิตบัณฑิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง :  โสรญา ม่วงกรุง
1.ความเป็นมา
เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ ยังไม่มีการจัดทำการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างเป็นรูปธรรมผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาโดยเริ่มวิเคราะห์จากนิสิตที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2556 ศึกษาต้นทุนที่เกิดจากการศึกษาของนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนถึงปีสุดท้ายของการศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากการผลิตแพท์มาใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัย
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2551-2556
2. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวมในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตโดยจำแนก ตามต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อม
3. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิตแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตามเกณฑ์กลุ่มสถาบันแพทย์
3. ขอบเขตของการศึกษา
นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาตั้งแต่ ปีการศึกษา2551-2556
4. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุน
2. แนวคิดเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา
3. แนวคิดและหลักการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิตแพทย์
4. แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนการศึกษา
5. วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
1.วิเคราะห์ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.วิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูล
6. ผลการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตแพทย์มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรที่เพิ่มมากขึ้น ต้นทุนรวมตั้งแต่ปี การศึกษา 2551-2556 เฉลี่ยต่อปี 136,563,052บาทจำแนกเป็นต้นทุนทางตรงเฉลี่ยต่อปี105,986,701บาทคิดเป็นร้อยละ77.61และ ต้นทุนทางอ้อม เฉลี่ยต่อปี 30,576,351 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.39
7. ข้อจำกัดของงานวิจัย/ข้อเสนอแนะ
คณะแพทยศาสตร์ ควรมีการสนับสนุนหรือพัฒนาให้มีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของภาควิชา/หน่วยงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจาย ไม่เป็นหมวดหมู่ซึ่งยากต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

Credit: http://www.research.rmutt.ac.th/?p=14989 (วันที่เข้าถึง 5/11/2017)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีต้นทุนและต้นทุนการผลิต

ทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity Based Costing)

การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตขาเทียมโดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม